วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม 2555
 - อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มคิดคำขวัญเลิกเหล้าออกพรรษา
      - กลุ่ม จ : รู้ทั้งรู้...สุราทำลายจิต คิดสักนิดก่อนดื่มมัน
      - กลุ่ม ว : รักครอบครัว รักชีวิต คิดสัักนิดก่อนดื่มเหล้า...นะจ๊ะ
      - กลุ่ม ส : เลิกเหล้า เลิกจน...เทิดไท้องค์ราชันย์
      - กลุ่ม พ : เหล้าทำลายสุขภาพจิต ทำลายชีวิตคนไทย
      - กลุ่ม ธ,ท : เลิกเถอะ!!!...สุรามีพิษร้าย อันตรายถึงชีวิต
      - กลุ่ม น : สุราคือชีวิต เลิกเถิดก่อนชีวิตจะวอดวายเพื่อสายใยในครอบครัว
      - กลุ่ม ป : เลิกดื่ม เลิกเหล้า เลิกจน รวยจริงๆนะพี่
      - กลุ่ม ย : พี่จ๋า....รักชีวิต รักครวบครัว อย่ามัวเมาสุรา...น้องขอร้อง
      - กลุ่ม ต : บุรุษสตรีชนะข้ามเพศ...โปรดเลิกเหล้าเพื่อให้ทาน เลิกพาลด้วยการเลิกดื่มเหล้า
      - กลุ่ม ร : เพื่อนเอย...เหล้าเบียร์คือยาพิษ อย่าหลงผิดริอาจลอง
      - กลุ่ม ด : ถ้ารักน้องจริงเลิกเหล้าเลิกจน เริ่มมีสติเพื่ออนาคตของเรา
      - กลุ่ม ม : คิดสักนิด...ดื่มเหล้า เสียตังค์ เสียสติ
      - กลุ่ม ช : พ่อจ๋า...สุราทำลายชีวิต อย่าหลงผิดคิดดื่มสุรา หนูจะพาพ่อดื่มนม
      - กลุ่ม ถ : อยากให้พี่เพิ่มอายุ เพิ่มชีวิต ด้วยการไม่ดื่มสุรา
      - กลุ่ม พ : โปรดหยุด !...เหล้าทำลายสุขภาพจิต ทำลายชีวิตคนไทย
      - กลุ่ม บ : ประกาศ...ช่วงนี้ชี้แนะ...งดเหล้าออกพรรษา ปีศาจสุราไม่ครองเมือง
      - กลุ่ม ล : มาพวกเรามา คว่ำแก้วเลิกเหล้า ครอบครัวมีความสุข...จริงๆนะ

 - ในวันนี้อาจารย์ให้นำเสนอเพลงหน้าชั้นเรียนที่่แต่ละกลุ่มแต่งกันมา


กลุ่มของภรณ์ไพริน เพลง สัตว์อะไร

            จิ๊บ จิ๊บ จิ๊บ จิ๊บ จิ๊บ จิ๊บ เอ๊ะ นั้นเสียงอะไร
เด็กเด็กรู้บ้างไหม เสียงอะไรช่วยตอบคุณครู (ซ้ำ)
            ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ เอ๊ะ นั้นเสียงอะไร
เด็กเด็กรู้บ้างไหม เสียงอะไรช่วยตอบคุณครู (ซ้ำ)
            แปล๊น แปล๊น แปล๊น แปล๊น แปล๊น เอ๊ะ นั้นเสียงอะไร
เด็กเด็กรู้บ้างไหม เสียงอะไรช่วยตอยคุณครู (ซ้ำ)

กลุ่ม พลอย เพลง บ้านหนูอยู่ไหนจ๊ะ
หนูจ๋า บ้านหนูอยู่ไหน มีอะไรน่าสนใจบ้าง
คุณครู นั้นอยากรู้จัง เล่าให้ฟังบ้างได้ไหม
ทำท่าให้ดูก็ได้ ท่าอะไรก็ตามใจหนู
ลั้ลลาลั้ลลาลั้ลลั้ลลาลั้ลลาลั้ลลาลั้ลลา


กลุ่ม ส้ม เพลง ดื่มนมกันเถอะนะ
เด็กเด็ก ดื่มนมกันนะ ดื่มนมกันนะ ร่างกายแข็งแรง
มีทั้งนมหวาน นมจืด มีทั้งนมหวานนมจืด
มาซิมา มาดื่มนมกันเถอะ นะ
มาซิมา มาดื่มนมกันเถอะ นะ


กลุ่ม เอ๋ย เด็กเด็ก ตั้งใจเรียน
ทุกทุกวันแต่เช้า... พวกเรารีบมาโรงเรียน
มาฝึกอ่านฝึกเขียน นั่งเรียนกันอย่างตั้งใจ
ABC ครูสอน ..... พอถึงตอนพยัญชนะไทย
เราสนุกสดใส ตั้งใจ ตั้งใจ นั่งเรียน

กลุ่มดาว อู๊ด...อู๊ด..
ลูกหมูตัวกลมกลมอ้วนกลมบอก ขอนมเพิ่มอีกนะ อู๊ด อู๊ด
เอาไปเลยจ๊ะ แม่หมูบอก ดื่มให้หมดแล้วร้อง อู๊ด อู๊ด
ลูกหมูตัวกลมกลมอ้วนกลมบอก ออกไปเล่นข้างนอกกันเถอะ อู๊ด อู๊ด
ไปไม่ได้จ๊ะต้องทานข้าวก่อน ทานข้าวให้หมดจานก่อน อู๊ด อู๊ด
ลูกหมูตัวกลมกลมอ้วนกลมบอก เริ่มง่วงนอนแล้วสิ อู๊ด อู๊ด
นอนไม่ได้จ๊ะ แม่หมูบอก แปรงฟันก่อนเข้า นอน อู๊ด อู๊ด

กลุ่ม เพลง เพลง เพลงเพื่อน
เพื่อนเพื่อนฉันมีมากมาย ทั้งชายทั้งหญิงปะปน
ในห้องนั้นมีหลายคน เพื่อนเพื่อนทุกคนเล่นกันสนุกดี
เล่นกัน เล่นกัน สนุกดี เล่นกัน เล่นกัน สนุกดี


กลุ่มบุ๋ม เพลง สบายตัว สบายใจ
อาบน้ำแล้วสบายตัว สระผมแล้วสบายใจ
แปรงฟัน แล้วยิ้มสดใส ดูซิดู ฟันขาว สะอาดจัง ดูซิดู ฟันขาวสะอาดจัง

กลุ่ม นิด เพลง ออกกำลังกาย
เต้น เต้น เต้น เรามาเต้น เต้นออกกำลัง
เต้นแล้วจะมีพลัง เต้นแล้วจะมีพลัง
เต้น สนุกจัง ร่างกายแข็งแรง เย้ๆ
กลุ่มเมย์ เพลง หนูจ๋า
หนูจ๋า รีบมาโรงเรียน รีบมาโรงเรียน
มาฟังคุณครู มาเรียนจะได้ความรู้
มาสิมาดู มาเล่นด้วยกัน
ลั้ล ลาลั้ลลา ลั้ลลา ลั้ลลา ลั้ลลา ลั้ลลา ลั้ลลา

กลุ่ม กวาง เพลง ดื่มนม
ฉันอยากดื่ม นมมันเนย ฉันอยากโตไวไว
ฉันชอบดื่ม รสจืดจืด รสชาติก็อร่อย
ลองสักแก้วเหมือนฉันเอาไหม ไม่ไม่ไม่เราไม่โอเค
ลองสักแก้วเหมือนฉันเอาไหม ได้ได้ได้เราชอบเหมือนกัน
งั้นมาดื่ม นมกันเถอะ จะได้สูง เหมือนครู

กลุ่มเกด เพลง เป็ดอาบน้ำ
ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ เป็ดอาบน้ำฝักบัว ถูสบู่ตามตัว
ล้างหน้า ล้างหน้า แปรงฟัน เป็ดอาบน้ำฝักบัว ก๊าบ ก๊าบ

กลุ่ม ปักเป้า เพลง ผีเสื้อตัวเรา
ลดพัดแรง ลมพัดเบา
ผีเสื้อของเรา บินมาตรงนี้
ดูให้ดีว่ามีกี่ตัว ดูให้ดีว่ามีกี่ตัว
ตัว 2 ตัว 3 ตัว 4 ตัว 5 ตัว 6 ตัว 7 ตัว 8 ตัว 9 ตัว 10 ตัว

กลุ่ม บี เพลง เต่า
เต่า เต่า เต่า                              เต่า อาบน้ำในนา
ตาก็จ้องมองหา                        ผักบุ้งนานั้น อยู่หนใด




  หลักในการแต่งเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย มีอยู่ว่า
1.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาของเพลงที่จะแต่ง
2.ร้องเพลงได้ถูกทำนองและจังหวะ
3.เพลงต้องไม่สั้นหรืยาวเกินไป
4.เนื้อหาเข้าใจง่าย
5.ทำนองสนุกสนาน ฟังแล้วเพลิดเพลิน
6.แต่งทำนองก่อนเนื้อร้อง
7.เป็นเรื่องใกล้ตัวเด็กที่เด็กสามารถเรียนรู้ได้



ตัวอย่างเพลง

   บทเพลงที่ เพลงนาฬิกา เป็นบทเพลงที่ให้เด็กเล็กได้รู้จักของใช้ที่จำเป็นประจำวัน นั้นคือ นาฬิกาบอกเวลา เพราะในการเรียนในแต่ละวัน เด็กเล็กจะต้องรู้ว่า ในแต่ละวันจะต้องทำอะไรบ้าง และต้องจะต้องกลับบ้านเวลาใด บทเพลงนี้ต้องการสื่อให้เด็กรู้จักเวลา และหน้าที่สำคัญของนาฬิกา คือการบอกเวลา ครูผู้สอนสามารถทำกิจกรรมต่างได้มากมายในบทเพลงนี้


    แหล่งที่มา: ไพบูลย์ บุณยเกียรติ. (2529).พฤติกรรมดนตรีสำหรับเด็ก.สำนักพิมพ์ ท.ว.พ.



บทเพลงที่ ลูกแมวเหมี่ยว เป็นเพลงประกอบบทเรียนสำหรับเด็กเล็ก มีจุดมุ่งหมายใหญ่ให้เด็กได้รู้จักสัตว์เลี้ยงประจำบ้าน นั้นคือแมว บ้านของคนไทยส่วนใหญ่เลี้ยงแมวกันทุกบ้าน บทเพลงนี้ต้องสื่อและสอนเด็กให้รู้จักคุณลักษณะของแมวเหมี่ยว อิริยาบถ และคุณลักษณะต่างๆ ของแมว บทเพลงในทางทฤษฏีดนตรี จะเริ่มฝึกนักเรียนให้รู้จักขั้นบันไดเสียง คือการไล่ขั้นบันไดเสียง เสียงต่ำ ตั้งแต่ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด เป็นบันไดเสียงขาขึ้น และมีการฝึกให้นักเรียนไล่ขั้นบันไดเสียงขาลงจาก โด ที ลา ซอล ฟา มี เร โด กิจกรรมสร้างสรรค์ สำหรับคุณครูที่สร้างกิจกรรมกับบทเพลงบทนี้ สามารถสร้างสรรค์ได้มากมาย โดยอาจแบ่งเด็กออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มที่ 1 ร้องเพลงบทเพลงนี้ ส่วนเด็กกลุ่มที่ 2 แสดงละครในอิริยาบถลักษณะต่างๆ ของแมว โดยให้เด็กแสดงความคิดเห็นและสร้างสรรค์ได้ทุกคน และครูสามารถเปลี่ยนให้เด็กอีกกลุ่มที่ 2 ที่ร้องเพลง กลับมาเต้นหรือแสดงละครในอิริยาบถต่างๆ ของแมวก็ได้



 แหล่งที่มา: ไพบูลย์ บุณยเกียรติ. (2529).พฤติกรรมดนตรีสำหรับเด็ก.สำนักพิมพ์ ท.ว.พ.


บทเพลงที่ เพลงแมงมุมลาย บทเพลงเด็กเพลงนี้ ไม่ทราบผู้แต่ง แต่เป็นบทเพลงที่มีการร้องกันในชั้นเรียนกันเป็นเวลานาน คุณครูสามารถคิดทำกิจกรรมกับบทเพลงบทนี้ได้มากมาย และเป็นที่สนุกสนานกันมาก จุดประสงค์ของบทเพลงนี้ เพื่อให้เด็กรู้จักสัตว์ที่อยู่ภายในบ้าน ใกล้บ้านหรือเห็นโดยทั่วไปตามต้นไม้เล็ก ใหญ่ เนื้อร้องของเพลงจะเป็นการอธิบายถึงคุณลักษณะของแมงมุม และลักษณะความเป็นอยู่ตามธรรมชาติของมัน ตัวโน้ตประกอบด้วย ตัวดำและ ตัวเขบ็ต ชั้น และตัวหยุดตัวเขบ็ต ชั้น ช่วงความกว้างของเสียงประกอบด้วยเสียงต่ำสุด คือโน้ต ตัวโด และสูงสุด
คือโน้ต ตัวซอล





  เพลงแมงมุมลาย ไม่ทราบผู้แต่ง และความเป็นมาแต่มีการพิมพ์เพลงนี้ในหนังสือวันเด็กประมาณปี พ.ศ. 2506




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น