วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555


โทรทัศน์ครู


หลังจากดู วีดีโอโทรทัศน์ครู Sing a song ร้อง เต้น เป็นคำศัพท์   ครูสุมณญา เลาห์สัฒนะ รร.ทานสัมฤทธิ์วิทยา 
     สิ่งที่คุณครูมุ่งเน้นในการเรียนการสอนคือ ใช้เพลงเข้าช่วยเพื่อความสนใจของนักเรียนที่คิดว่าคำศัพท์นั้นยาก แต่เมื่อนำมาใส่ในเพลงแล้วก็ทำให้เด็กเกิดความสนใจเพิ่มมากขึ้น และได้บอกเด็กๆว่าคำศัพท์ไม่ได้ยากอย่างที่คิดสามารถเรียนรู้กันได้

จากการได้ดูโทรทัศน์ครู
1. เด็กๆมีความกล้าแสดงออก
2. เด็กๆรู้จักคำศัพท์เพิ่มมากขึ้น
3. เด็กๆได้แสดงความคิดเห็นหลังจากเพื่อนๆได้ร้องเพลงพร้อมประกอบท่าทาง
4. เด็กๆสามารถจำคำศัพท์ได้เร็วขึ้น
5. เด็กที่ไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการเรียนเมื่อได้ร่วมทำกิจกรรมนี้แล้วก็ให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้น

วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน 2555
      - อาจารย์ให้เขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ ที่รัฐบาลแจก Tablet ให้เด็ก ป.1 ว่ามีความคิดเห็นอย่างไร
            - ข้อดี ข้อจำกัด ของการใช้ Tablet
            - การนำ Tablet ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
      - อาจารย์พูดสรุปเรื่องต่างๆและปิดครอสการเรียนการสอน




วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน 2555
      - ในวันนี้อาจารย์ตรวจความเรียบร้อย บล็อก ของนักศึกษาเพื่อให้นักศึกษานำไปปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นกว่าเดิม
กระบวนการในการทำงาน
      - ตั้งวัตถุประสงค์เป็นอันดับแรก
      - ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งข่าวต่างๆ
      - นำข้ิอมูลที่ได้รับหรือค้นคว้ามาวิเคราะห์
      - ปรับปรุงแก้ไขการเขียนเนื้อหาและตกแต่งบล็อกให้สมบูรณ์

วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555


วันศุกร์ที่ 14 กันยายน 2555

 วันนี้ได้มีการร้องเพลงต่อจากสัปดาห์ที่ผ่านมา  และเล่านิทาน

กลุ่ม อันอัน   เพลง  เด็กน้อยน่ารัก
     เด็ก เด็กที่น่ารัก หนูจงตั้งใจอ่านเขียน
ตอนเช้าหนูมาโรงเรียน (ซ้ำ)
หนูจงพากเพียรและขยันเรียนเอย

กลุ่ม มด (กลุ่มของข้าพเจ้า) เพลง นกน้อย
     นกตัวน้อยน้อย  บินล่องลอยตามสายชล
เด็กเด็ก พากันมาชื่นชม  ช่างสุขสมอารมณ์จริงเอย
ลา ลั้น ล้า ลา ลัน ล้า ลา ล่า ลา





กลุ่ม พราว  เพลง  ตาหูจมูก
     ดวงตาฉันอยู่ที่ไหน  รู้ไมช่วยบอกฉันที
ดวงตาฉันอยู่ที่นี่           ดูให้ดีอยู่ที่นี่เอง
ใบหูฉันอยู่ที่ไหน           รู้ไหมช่วยบอกฉันที
ใบหูฉันอยู่ที่นี่               ดูให้ดีอยู่ที่นี่เอง
จมูกฉัันอยู่ที่ไหน           รู้ไหมช่วยบอกฉันที
จมูกฉันอยู่ที่นี่               ดูให้ดีอยู่ที่นี่เอง  (ซ้ำ) 

กลุ่ม อ๊อฟ   เพลง   กินผัก ผลไม้
  กินผักแล้วมีประโยชน์    ไม่เคยมีโทษมีแต่วิตามิน
เกลือแร่ก็มีมากมาย          อีกทั้งกากใยถูกใจจริงจริง
กินเท่าไหร่ก็ไม่มีอ้วน        กินเท่าไหร่ก็ไม่มีอ้วน
          ของดีล้วนล้วนไม่ควรเขี่ยทิ้ง

กลุ่ม เฟริน์     เรื่อง ดาวนน้อยลอยในทะเล       เล่าไปฉีกไป
กลุ่ม ปักเป้า    เรื่อง ความสามัคคีของผีเสื้อ     เล่าด้วย เชือก
กลุ่ม  หนิง      เรื่อง ยักษ์ 2 ตนหัวใจเดียวกัน    เล่าไปพับไป
กลุ่ม  หยก      เรื่อง ชายขี้เบื่อ                           เล่าไปพับไป
กลุ่ม  เอ๋ย        เรื่อง พระจันทร์ ยิ้ม                    เล่าไปตัดไป
กลุ่ม  ส้ม         เรื่อง   เต่าขี้บ่น                          เล่าด้วย เชือก
กลุ่ม  เพลง      เรื่อง    กระต่าบกับแครรอท       เล่าด้วย เชือก
กลุ่ม แป้ง         เรื่อง    ครอบครัวทั้ง 4              เล่าด้วยเชือก
กลุ่ม อ๊อฟ        เรื่อง  เรือโจรสลัด                     เล่าไปฉีกไป
กลุ่ม  แกน        เรื่อง หัวใจล้านดวง                   เล่าไปฉีกไป
กลุ่ม  พราว      เรื่อง  เจ้าหมีกับผึ้งน้อย             เล่าไปตัดไป
กลุ่ม  กวาง       เรื่อง  เพื่อน                               เล่าไปวาดไป
 กลุ่ม  ละออ(กลุ่มของดิฉัน) เรื่อง  ดินสอวิเศษ  เล่าไปพับไป




วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555




วันศุกร์ที่ 7 กันยายน 2555
               วันนี้อาจารย์ให้เข้าร่วมฟังบรรยายงานอาเซียนที่ตึกคณะศึกษาศาสตร์
                                               โครงการศึกษาศาสตร์วิชาการ
                                 คุณภาพการศึกษาไทยก้าวไกลสู่ประชาคมอาเซียน
                      ผอ. ราตรี  ศรีไพรวรรณ  เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน

ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง
แต่หากท่านหมายถึง “AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” >>ไปที่ thai-aec.com<<
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 ส.ค.2510 หลังจากการลงนามในปฎิญญาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Declaration of ASEAN Concord) หรือเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration)
โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5ประเทศที่ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ ประกอบด้วย
1.นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย
2.ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย
3.นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์
4.นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์
5.พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จากประเทศไทย
หลังจากจัดตั้ง ประชาคมอวเซียนเมื่อ 8 ส.ค.2510 แล้ว อาเซียนได้เปิดรับสมาชิกใหม่จากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มเติมเป็นระยะ ตามลำดับได้แก่
-บรูไนดารุสซาลาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 8 มกราคม 2527
-สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 28 กรกฏาคม 2538
-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฎาคม 2540
-สหภาพพม่า เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฏาคม 2540
-ราชอาณาจักรกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 30 เมษายน 2542
วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งประชาคมอาเซียน
ประชาคมอาเซียน ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีแนวโน้มกีดกันการค้ารุนแรงขึ้น ทำให้อาเซียนได้หันมามุ่งเน้นกระชับและขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันมากขึ้น วัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้ในปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) มี 7 ประการ ดังนี้
1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม
2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร
4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต
6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
7. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ
ความหมายและความสำคัญของประชาคมอาเซียน



ความหมายและความสำคัญของประชาคมอาเซียน
ประชาคมอาเซียน” เป็นเป้าหมายของการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถการแข่งขันของอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศในทุกด้าน รวมถึงความสามารถในการรับมือกับปัญหาใหม่ๆ ในระดับโลกที่ส่งผลกระทบมาถึงภูมิภาคอาเซียน เช่น ภาวะโลกร้อน การก่อการร้าย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การเป็นประชาคมอาเซียน คือการทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเป็น “ครอบครัวเดียวกัน” ที่มีความแข็งแกร่งและมีภูมิต้านทานที่ดี โดยสมาชิกในครอบครัวมีสภาพความอยู่ที่ดี ปลอดภัย และสามารถทำมาค้าขายได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น

แรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนตกลงกันที่จัดตั้งประชาคมอาเซียน อันถือเป็นการปรับปรุงตัวครั้งใหญ่และวางรากฐานของการพัฒนาของอาเซียน คือ สภาพแวดล้อมระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ที่ทำให้อาเซียนต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ เช่นโรคระบาด อาชญากรรมข้ามชาติ ภัยพิบัติธรรมชาติ และปัญหาสิ่งแวดล้อม ภาวะโลกร้อน และความเสี่ยงที่อาเซียนอาจจะไม่สามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจได้กับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะจีนและอินเดีย ซึ่งมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด

ประชาคมอาเซียนถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนตุลาคม 2546 จากการที่ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า “ข้อตกลงบาหลี 2” เพื่อเห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน ภายในปี 2563 แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี
 2558





 ประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย 3 ประชาคมย่อย ซึ่งเปรียบเสมือนสามเสาหลักซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ได้แก่
1) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง

2) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้ เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน

3) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม
ในตอนนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการให้บรรลุการเป็นประชาคมอาเซียนภายในปีเป้าหมาย 2558 โดยในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพในช่วงปลายเดือน ก.พ.2552 นี้ ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนจะรับรองแผนงานหรือแผนกิจกรรมการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

กำเนิดอาเซียนและวัตถุประสงค์การจัดตั้ง
 เมื่อวันที่ 8สิงหาคม 2510ณ วังสราญรมย์ (ที่ตั้งของกระทรวงการต่างประเทศไทย ในขณะนั้น) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ 5ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก-เฉียงใต้ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ได้ลงนามใน “ปฏิญญากรุงเทพฯ” (Bangkok Declaration) เพื่อจัดตั้งสมาคมความร่วมมือในระดับภูมิภาคของประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้ชื่อ “สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้“ หรือ “อาเซียน” (ASEAN) ซึ่งเป็นตัวย่อของ Association of SouthEast Asian Nations ชื่อทางการ ในภาษาอังกฤษของอาเซียน ทั้งนี้ ก่อนหน้าที่การลงนามในปฏิญญากรุงเทพฯ รัฐมนตรี-ต่างประเทศของทั้ง 5ประเทศได้หารือกันเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการจัดตั้งสมาคมอาเซียนและยกร่างปฏิญญากรุงเทพฯ ที่แหลมแท่น จังหวัดชลบุรี



ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่

(1)ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
(2)ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
(3)เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
(4)ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
(5)ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(6)เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
และ(7)เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ และองค์การระหว่างประเทศ

นับตั้งแต่วันก่อตั้ง อาเซียนได้พยายามแสดงบทบาทในการธำรงรักษาและส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ ความมั่นคงและความเจริญร่วมกันในภูมิภาค ตลอดจนมีวิวัฒนาการ อย่างต่อเนื่องในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศสมาชิก ตลอดจนพัฒนาการในเรื่องความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคม จนเป็นที่ประจักษ์แก่นานาประเทศ และนำไปสู่การขยายสมาชิกภาพ โดยบรูไนดารุสซาลาม เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 6เมื่อปี 2527เวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 7ในปี 2538ลาวและพม่า เข้าเป็นสมาชิกพร้อมกันเมื่อปี 2540และกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกล่าสุดเมื่อปี 2542ทำให้ในปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิกรวมทั้งหมด 10ประเทศ

ได้รู้จัก ที่มาที่ไปของประชาคมอาเซียน กันไปแล้ว ในตอนหน้า เรามาเรียนรู้ผลกระทบ ผลได้ผลเสีย ของประเทศไทยในด้านต่างๆกันบ้างนะคะ  จะได้เตรียมตัว รับมือกันได้ทันปี 2558 ค่ะ


ณัฐตินัน วรรณารักษ์
ศูนย์ข่าวการศึกษาไทย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  กระทรวงการต่างประเทศ
http://www.mfa.go.th/











วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม 2555
 - อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มคิดคำขวัญเลิกเหล้าออกพรรษา
      - กลุ่ม จ : รู้ทั้งรู้...สุราทำลายจิต คิดสักนิดก่อนดื่มมัน
      - กลุ่ม ว : รักครอบครัว รักชีวิต คิดสัักนิดก่อนดื่มเหล้า...นะจ๊ะ
      - กลุ่ม ส : เลิกเหล้า เลิกจน...เทิดไท้องค์ราชันย์
      - กลุ่ม พ : เหล้าทำลายสุขภาพจิต ทำลายชีวิตคนไทย
      - กลุ่ม ธ,ท : เลิกเถอะ!!!...สุรามีพิษร้าย อันตรายถึงชีวิต
      - กลุ่ม น : สุราคือชีวิต เลิกเถิดก่อนชีวิตจะวอดวายเพื่อสายใยในครอบครัว
      - กลุ่ม ป : เลิกดื่ม เลิกเหล้า เลิกจน รวยจริงๆนะพี่
      - กลุ่ม ย : พี่จ๋า....รักชีวิต รักครวบครัว อย่ามัวเมาสุรา...น้องขอร้อง
      - กลุ่ม ต : บุรุษสตรีชนะข้ามเพศ...โปรดเลิกเหล้าเพื่อให้ทาน เลิกพาลด้วยการเลิกดื่มเหล้า
      - กลุ่ม ร : เพื่อนเอย...เหล้าเบียร์คือยาพิษ อย่าหลงผิดริอาจลอง
      - กลุ่ม ด : ถ้ารักน้องจริงเลิกเหล้าเลิกจน เริ่มมีสติเพื่ออนาคตของเรา
      - กลุ่ม ม : คิดสักนิด...ดื่มเหล้า เสียตังค์ เสียสติ
      - กลุ่ม ช : พ่อจ๋า...สุราทำลายชีวิต อย่าหลงผิดคิดดื่มสุรา หนูจะพาพ่อดื่มนม
      - กลุ่ม ถ : อยากให้พี่เพิ่มอายุ เพิ่มชีวิต ด้วยการไม่ดื่มสุรา
      - กลุ่ม พ : โปรดหยุด !...เหล้าทำลายสุขภาพจิต ทำลายชีวิตคนไทย
      - กลุ่ม บ : ประกาศ...ช่วงนี้ชี้แนะ...งดเหล้าออกพรรษา ปีศาจสุราไม่ครองเมือง
      - กลุ่ม ล : มาพวกเรามา คว่ำแก้วเลิกเหล้า ครอบครัวมีความสุข...จริงๆนะ

 - ในวันนี้อาจารย์ให้นำเสนอเพลงหน้าชั้นเรียนที่่แต่ละกลุ่มแต่งกันมา


กลุ่มของภรณ์ไพริน เพลง สัตว์อะไร

            จิ๊บ จิ๊บ จิ๊บ จิ๊บ จิ๊บ จิ๊บ เอ๊ะ นั้นเสียงอะไร
เด็กเด็กรู้บ้างไหม เสียงอะไรช่วยตอบคุณครู (ซ้ำ)
            ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ เอ๊ะ นั้นเสียงอะไร
เด็กเด็กรู้บ้างไหม เสียงอะไรช่วยตอบคุณครู (ซ้ำ)
            แปล๊น แปล๊น แปล๊น แปล๊น แปล๊น เอ๊ะ นั้นเสียงอะไร
เด็กเด็กรู้บ้างไหม เสียงอะไรช่วยตอยคุณครู (ซ้ำ)

กลุ่ม พลอย เพลง บ้านหนูอยู่ไหนจ๊ะ
หนูจ๋า บ้านหนูอยู่ไหน มีอะไรน่าสนใจบ้าง
คุณครู นั้นอยากรู้จัง เล่าให้ฟังบ้างได้ไหม
ทำท่าให้ดูก็ได้ ท่าอะไรก็ตามใจหนู
ลั้ลลาลั้ลลาลั้ลลั้ลลาลั้ลลาลั้ลลาลั้ลลา


กลุ่ม ส้ม เพลง ดื่มนมกันเถอะนะ
เด็กเด็ก ดื่มนมกันนะ ดื่มนมกันนะ ร่างกายแข็งแรง
มีทั้งนมหวาน นมจืด มีทั้งนมหวานนมจืด
มาซิมา มาดื่มนมกันเถอะ นะ
มาซิมา มาดื่มนมกันเถอะ นะ


กลุ่ม เอ๋ย เด็กเด็ก ตั้งใจเรียน
ทุกทุกวันแต่เช้า... พวกเรารีบมาโรงเรียน
มาฝึกอ่านฝึกเขียน นั่งเรียนกันอย่างตั้งใจ
ABC ครูสอน ..... พอถึงตอนพยัญชนะไทย
เราสนุกสดใส ตั้งใจ ตั้งใจ นั่งเรียน

กลุ่มดาว อู๊ด...อู๊ด..
ลูกหมูตัวกลมกลมอ้วนกลมบอก ขอนมเพิ่มอีกนะ อู๊ด อู๊ด
เอาไปเลยจ๊ะ แม่หมูบอก ดื่มให้หมดแล้วร้อง อู๊ด อู๊ด
ลูกหมูตัวกลมกลมอ้วนกลมบอก ออกไปเล่นข้างนอกกันเถอะ อู๊ด อู๊ด
ไปไม่ได้จ๊ะต้องทานข้าวก่อน ทานข้าวให้หมดจานก่อน อู๊ด อู๊ด
ลูกหมูตัวกลมกลมอ้วนกลมบอก เริ่มง่วงนอนแล้วสิ อู๊ด อู๊ด
นอนไม่ได้จ๊ะ แม่หมูบอก แปรงฟันก่อนเข้า นอน อู๊ด อู๊ด

กลุ่ม เพลง เพลง เพลงเพื่อน
เพื่อนเพื่อนฉันมีมากมาย ทั้งชายทั้งหญิงปะปน
ในห้องนั้นมีหลายคน เพื่อนเพื่อนทุกคนเล่นกันสนุกดี
เล่นกัน เล่นกัน สนุกดี เล่นกัน เล่นกัน สนุกดี


กลุ่มบุ๋ม เพลง สบายตัว สบายใจ
อาบน้ำแล้วสบายตัว สระผมแล้วสบายใจ
แปรงฟัน แล้วยิ้มสดใส ดูซิดู ฟันขาว สะอาดจัง ดูซิดู ฟันขาวสะอาดจัง

กลุ่ม นิด เพลง ออกกำลังกาย
เต้น เต้น เต้น เรามาเต้น เต้นออกกำลัง
เต้นแล้วจะมีพลัง เต้นแล้วจะมีพลัง
เต้น สนุกจัง ร่างกายแข็งแรง เย้ๆ
กลุ่มเมย์ เพลง หนูจ๋า
หนูจ๋า รีบมาโรงเรียน รีบมาโรงเรียน
มาฟังคุณครู มาเรียนจะได้ความรู้
มาสิมาดู มาเล่นด้วยกัน
ลั้ล ลาลั้ลลา ลั้ลลา ลั้ลลา ลั้ลลา ลั้ลลา ลั้ลลา

กลุ่ม กวาง เพลง ดื่มนม
ฉันอยากดื่ม นมมันเนย ฉันอยากโตไวไว
ฉันชอบดื่ม รสจืดจืด รสชาติก็อร่อย
ลองสักแก้วเหมือนฉันเอาไหม ไม่ไม่ไม่เราไม่โอเค
ลองสักแก้วเหมือนฉันเอาไหม ได้ได้ได้เราชอบเหมือนกัน
งั้นมาดื่ม นมกันเถอะ จะได้สูง เหมือนครู

กลุ่มเกด เพลง เป็ดอาบน้ำ
ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ เป็ดอาบน้ำฝักบัว ถูสบู่ตามตัว
ล้างหน้า ล้างหน้า แปรงฟัน เป็ดอาบน้ำฝักบัว ก๊าบ ก๊าบ

กลุ่ม ปักเป้า เพลง ผีเสื้อตัวเรา
ลดพัดแรง ลมพัดเบา
ผีเสื้อของเรา บินมาตรงนี้
ดูให้ดีว่ามีกี่ตัว ดูให้ดีว่ามีกี่ตัว
ตัว 2 ตัว 3 ตัว 4 ตัว 5 ตัว 6 ตัว 7 ตัว 8 ตัว 9 ตัว 10 ตัว

กลุ่ม บี เพลง เต่า
เต่า เต่า เต่า                              เต่า อาบน้ำในนา
ตาก็จ้องมองหา                        ผักบุ้งนานั้น อยู่หนใด




  หลักในการแต่งเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย มีอยู่ว่า
1.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาของเพลงที่จะแต่ง
2.ร้องเพลงได้ถูกทำนองและจังหวะ
3.เพลงต้องไม่สั้นหรืยาวเกินไป
4.เนื้อหาเข้าใจง่าย
5.ทำนองสนุกสนาน ฟังแล้วเพลิดเพลิน
6.แต่งทำนองก่อนเนื้อร้อง
7.เป็นเรื่องใกล้ตัวเด็กที่เด็กสามารถเรียนรู้ได้



ตัวอย่างเพลง

   บทเพลงที่ เพลงนาฬิกา เป็นบทเพลงที่ให้เด็กเล็กได้รู้จักของใช้ที่จำเป็นประจำวัน นั้นคือ นาฬิกาบอกเวลา เพราะในการเรียนในแต่ละวัน เด็กเล็กจะต้องรู้ว่า ในแต่ละวันจะต้องทำอะไรบ้าง และต้องจะต้องกลับบ้านเวลาใด บทเพลงนี้ต้องการสื่อให้เด็กรู้จักเวลา และหน้าที่สำคัญของนาฬิกา คือการบอกเวลา ครูผู้สอนสามารถทำกิจกรรมต่างได้มากมายในบทเพลงนี้


    แหล่งที่มา: ไพบูลย์ บุณยเกียรติ. (2529).พฤติกรรมดนตรีสำหรับเด็ก.สำนักพิมพ์ ท.ว.พ.



บทเพลงที่ ลูกแมวเหมี่ยว เป็นเพลงประกอบบทเรียนสำหรับเด็กเล็ก มีจุดมุ่งหมายใหญ่ให้เด็กได้รู้จักสัตว์เลี้ยงประจำบ้าน นั้นคือแมว บ้านของคนไทยส่วนใหญ่เลี้ยงแมวกันทุกบ้าน บทเพลงนี้ต้องสื่อและสอนเด็กให้รู้จักคุณลักษณะของแมวเหมี่ยว อิริยาบถ และคุณลักษณะต่างๆ ของแมว บทเพลงในทางทฤษฏีดนตรี จะเริ่มฝึกนักเรียนให้รู้จักขั้นบันไดเสียง คือการไล่ขั้นบันไดเสียง เสียงต่ำ ตั้งแต่ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด เป็นบันไดเสียงขาขึ้น และมีการฝึกให้นักเรียนไล่ขั้นบันไดเสียงขาลงจาก โด ที ลา ซอล ฟา มี เร โด กิจกรรมสร้างสรรค์ สำหรับคุณครูที่สร้างกิจกรรมกับบทเพลงบทนี้ สามารถสร้างสรรค์ได้มากมาย โดยอาจแบ่งเด็กออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มที่ 1 ร้องเพลงบทเพลงนี้ ส่วนเด็กกลุ่มที่ 2 แสดงละครในอิริยาบถลักษณะต่างๆ ของแมว โดยให้เด็กแสดงความคิดเห็นและสร้างสรรค์ได้ทุกคน และครูสามารถเปลี่ยนให้เด็กอีกกลุ่มที่ 2 ที่ร้องเพลง กลับมาเต้นหรือแสดงละครในอิริยาบถต่างๆ ของแมวก็ได้



 แหล่งที่มา: ไพบูลย์ บุณยเกียรติ. (2529).พฤติกรรมดนตรีสำหรับเด็ก.สำนักพิมพ์ ท.ว.พ.


บทเพลงที่ เพลงแมงมุมลาย บทเพลงเด็กเพลงนี้ ไม่ทราบผู้แต่ง แต่เป็นบทเพลงที่มีการร้องกันในชั้นเรียนกันเป็นเวลานาน คุณครูสามารถคิดทำกิจกรรมกับบทเพลงบทนี้ได้มากมาย และเป็นที่สนุกสนานกันมาก จุดประสงค์ของบทเพลงนี้ เพื่อให้เด็กรู้จักสัตว์ที่อยู่ภายในบ้าน ใกล้บ้านหรือเห็นโดยทั่วไปตามต้นไม้เล็ก ใหญ่ เนื้อร้องของเพลงจะเป็นการอธิบายถึงคุณลักษณะของแมงมุม และลักษณะความเป็นอยู่ตามธรรมชาติของมัน ตัวโน้ตประกอบด้วย ตัวดำและ ตัวเขบ็ต ชั้น และตัวหยุดตัวเขบ็ต ชั้น ช่วงความกว้างของเสียงประกอบด้วยเสียงต่ำสุด คือโน้ต ตัวโด และสูงสุด
คือโน้ต ตัวซอล





  เพลงแมงมุมลาย ไม่ทราบผู้แต่ง และความเป็นมาแต่มีการพิมพ์เพลงนี้ในหนังสือวันเด็กประมาณปี พ.ศ. 2506




วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม 2555
      เรื่องย่อ ช้างน้อยอัลเฟรด
      เรื่องย่อ : อัลเฟรดเป็นช้างที่มีงวงยาวมากอัลเฟรดรู้สึกอายที่ตนเองมีงวงยาวกว่าช้างตัว อื่นๆ จึงพยายามซ่อนงวงของตนวันหนึ่งอัลเฟรดได้ยินเสียงร้องขอความช่วยเหลือของ เด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ติดอยู่บนกระดานลื่น อัลเฟรดได้ใช้งวงช่วยเด็กผู้หญิงลงมา สัตว์อื่นๆ พากันชื่นชมอัลเฟรด ตั้งแต่นั้นมาอัลเฟรดก็อยู่อย่างมีความสุขแม้ว่าตนเองจะไม่เหมือนใคร




           คำร้อง ครูหญิง
       ทำนอง Ten little Indian boys

      เจ้าอัลเฟรดน้อยมีงวงยาวที่ไม่เหมือนใคร
      เดิน เดิน เดินไป เดิน เดินไป เพียงแค่ตัวเดียว 
      พยายามซ่อนงวง เก็บเอาไว้ ไว้ให้มิดเชียว
      ฉันไม่อยากงวงยาวกว่าใคร
      บนไม้ลื่นสูงมีเสียงใครร้องให้ช่วยอยู่
      เดิน เดินไปดู เดินไปดู แล้วจะพบใคร
      เด็กผู้หญิงคนหนึ่งติดอยู่บนไม้ลื่นสูงใหญ่
      ฉันจะใช้งวงยาวช่วยเธอ
      ช่วยเธอลงมาอย่างปลอดภัย
      ได้ช่วยฉันก็เป็นสุขใจ



     
เพลง เกาะสมุย


 ได้ฟังเพลงเกาะสมุยแล้วบอกอาจารย์ว่าเมื่อฟังเพลงนี้แล้วได้อะไรและรู้สึกอย่างไร
    - ฟังแล้วรู้สึกอยากไปเที่ยวที่เกาะสมุยเพื่อพักผ่อน
    - ได้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน
    - ได้รู้ว่าเกาะสมุยมีที่เที่ยวอะไรบ้าง
    - รู้สึกถึงการชักชวนให้ไปเที่ยวที่เกาะสมุย



วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555


วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม 2555 
( อาจารย์สอนชดเชย )

อาจารย์ ให้นักศึกษาไปดูสื่อแต่ละประเภทแล้วมาเล่าแรกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ
-ประชาสัมพันธ์

         คำว่า การประชาสัมพันธ์ แปลมาจากคำในภาษาอังกฤษ คือ Public Relations โดยคำว่า Public แปลเป็นภาษาไทยคือ ประชา ซึ่งหมายถึง หมู่คน และคำว่า Relations แปลเป็นภาษาไทยคือ สัมพันธ์ ซึ่งหมายถึง การผูกพัน ดังนั้นคำว่าการประชาสัมพันธ์เมื่อแปลตามตัวอักษร ก็จะได้ความหมายว่า การเกี่ยวข้องผูกพันกับหมู่คน

-ตัวอย่าง ประชาสัมพันธ์
             
                วันนี้เวลา 13.00 น. ใต้ตึก28 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม จะมีวงดนตรีของมหาวิทยาลัยมาแสดงดนตรีให้ชมสามารถไปชมได้ฟรีนะคะ

-การโฆษณา
 
     -การโฆษณามาจากภาษาอังกฤษว่า  Advertising มีรากศัพท์จาก  ภาษาลาติน  หมายถึง การหันเหจิตใจ ต้นศัพท์ของ
     -การโฆษณา มาจากภาษา สันสกฤตว่า “โฆษ”  แปลว่า กึกก้อง      -การโฆษณา  หมายถึง  การสร้างความสนใจไม่ว่าวิธีใดก็ตาม  เพื่อจูงใจหรือสนับสนุนให้เกิดความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการ 

-ตัวอย่างการโฆษณา

          สำหรับใครที่กำลังมองหาเสื้อคู่น่ารักๆใส่คู่กันกับคนพิเศษ เนื้อผ้าคุณภาพเดียวกับเสื้อแบรนเนมด์ ลองชมในร้านของเรา รับรองว่าซื้อเสื้อเราไปแล้วไม่มีผิดหวังแน่นอน สั่งจองวันนี้ลดพิเศษทันที10%

-การเล่าข่าว
        
          คือเหตุการณ์ ข้อเท็จจริง และข้อคิดเห็นที่ได้รับการรายงานเป็นสิ่งที่คนทั่วไปให้ความสนใจ
เพราะถ้าเหตุการณ์ที่ถึงแม้ว่าจะมีคนสนใจมากเพียงใดแต่ไม่ได้รับการรายงานก็ไม่ถือว่าเป็นข่าว หรือว่าข่าว จะเป็นสิ่งใหม่ๆ หรือขอ้มูลใหม่ๆ
ที่มีเนื้อหาสาระและประโยชน์ แต่ยังไม่เป็นที่รู้จัก

-ตัวอย่างการเล่าข่าว

          เวลา 16.30 น. ของวันที่ 10สิงหาคม 2555 ตำรวจสามารถจับกุมคนร้ายที่วางระเบิดห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งได้แล้วจำนวน 3 ราย แต่คาดว่ามีผู้ร่วมก่อเหตุในครั้งนี้ไม่ต่ำกว่า7 - 8 ราย ผู้ต้องหาที่รวบตัวได้ยังให้การปฏิเสธทางตำรวจจึงต้องสอบสวนกันต่อไป

วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม 2555
      นำเสนองาน เล่านิทานโดยการใช้สื่อแผ่นซีดี ได้เด็กอนุบาล 1
      เมื่อเข้าไปพูดคุยกับน้องในช่วงแนกๆน้องเขิลอายไม่พูดตอบ น้องถือของเล่นอยู่จึงขอดูน้องหวงเอาของเล่นไปซ่อน แต่เมื่อพูดคุยมากขึ้นน้องก็เริ่มตอบโต้มากขึ้นเรื่อยๆเมื่อดูซีดีจบก็ได้ถามน้องถึงเนื้อเรื่องน้องก็สามารถเล่าให้ฟังได้ แต่บางคำยังพูดไม่ชัดทำให้การสื่อสารไม่ค่อยราบรื่น
      กลุ่มมด ได้สื่อ วีดีโอ เรื่อง ทอมแอนด์เจอร์รี่ น้องอนุบาล1
      น้องชื่อ การ์ฟิล อายุ 4 ปี โรงเรียน วัดลาดพร้าว
      การฟัง   เด็กจะชอบฟังนิทานแต่จะมีสมาธิในการฟังสั้น
      การพูด   เด็กจะพูดได้เป็นประโยคแล้วแต่ไม่ยาวมากและบางคำยังพูดไม่ชัด
      การอ่าน เด็กจำคำศัพท์ที่ใช้บ่อยๆได้
      การเขียน เด็กจะเขียนตัวหนังสือตัวใหญ่และยังไม่ค่อยถูกต้อง



พัฒนาการทางภาษาของลูกวัย 3 - 6 ขวบ

* อายุ 3-4 ปี
       เด็กส่วนมากจะสามารถพูดเป็นประโยคยาวๆ และค่อยๆ เล่าเรื่องอย่างเป็นเรื่องเป็นราวได้ที่อายุประมาณ 4 ปี หากเด็กได้รับการส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาอย่างต่อเนื่อง จะสามารถใช้ภาษาพูดสื่อสารได้เป็นอย่างดี เพื่อเป็นเตรียมความพร้อมต่อการพัฒนาทักษะด้านการอ่าน เด็กควรได้คุ้นเคยกับคำพ้องเสียง คำคล้องจอง โดยผ่านการฟังบทอาขยานสั้นๆ ง่ายๆ จากคุณพ่อคุณแม่ เพราะการฟังคำคล้องจองจะช่วยให้เด็กเรียนรู้พื้นฐานของระบบเสียงที่เกี่ยว ข้องกับการอ่านได้ง่ายขึ้น ทักษะพื้นฐานอื่นๆทางภาษาที่เกี่ยวข้องกับสติปัญญา จะรวมถึงความเข้าใจเรื่องของลำดับก่อนหลัง สิ่งที่เป็นนามธรรมมากขึ้น ได้แก่ สี ขนาด จำนวน แม้สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเรียนรู้ผ่านการท่องจำได้ แต่ถ้าขาดความเข้าใจพื้นฐานสำคัญ เด็กจะเรียนรู้ต่อเนื่องด้วยตนเองได้ยากลำบาก เช่น แม้เด็กจะท่องจำสีได้หลายสี แต่เมื่อเห็นสีอื่นซึ่งไม่เคยเห็นแต่มีลักษณะใกล้เคียงกับสีเดิม (เขียวอ่อนกับเขียวแก่) เด็กที่มีความเข้าใจอย่างถูกต้องตั้งแต่แรก จะสามารถเชื่อมโยงและบอกได้ถูกต้องมากกว่า
เด็กวัยนี้มักมีข้อสงสัยและคำถามมากมาย คุณพ่อคุณแม่ควรตอบคำถามของลูกอย่างง่ายๆ สั้นๆ หรือหาสื่อ หาภาพมาประกอบคำอธิบาย จะกระตุ้นให้เขาใฝ่รู้และค้นคว้าเพิ่มเติม 


วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันที่ 10 สิงหาคม 2555
      วันนี้อาจารย์ให้เข้าร่วมงานวันแม่ที่หอประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เนื่องจากทางมหาวิทยาลัยได้จัดงานวันแม่ขึ้น หลังจากเข้าร่วมงานเสร็จอาจารย์จึงมอบหมายงาน คือ ให้จับกลุ่มๆละ 3 คน ทำปฏิทินตามตัวอักษรที่แต่ละกลุ่มจับฉลากได้ กลุ่มของดิฉันจับได้ตัวอักษร บ. และให้หาคำที่ขึ้นต้นด้วยตัว บ. พร้อมวาดรูปหรือติดรูปลงปฏิทิน
      ตัวอักษรของเพื่อนๆแต่ละกลุ่ม
จ. กลุ่ม แนน
ว. กลุ่ม ปักเป้า
ส. กลุ่ม ส้ม
พ. กลุ่มนิด
ต. กลุ่ม บี
อ. กลุ่ม เอีย
ร. กลุ่ม เกด
บ. กลุ่ม ละออ
ธ-ท กลุ่ม แอม 
ป. กลุ่ม เฟิร์น
ย. กลุ่ม อันอัน
ล. กลุ่ม บีแบม
ม. กลุ่ม เพลง
ด. กลุ่ม พราว
น. กลุ่ม แอน










                              




                         


วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม 2555
- ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจาก หยุดชดเชยวันเข้าพรรษา


ความเป็นมาของการเข้าพรรษา 
     ในเรื่องความเป็นมาของการเข้าพรรษา ถ้าว่ากันตามประวัติย่อๆ คือ ในยุคต้นพุทธกาล ก็ยังไม่มีการเข้าพรรษา เพราะฉะนั้นตลอดทั้งปี เมื่อพระภิกษุมีความเห็นว่าท่านควรจะไปเทศน์ ไปสอนญาติโยมที่ไหนได้ ท่านพอมีเวลา ท่านก็จะไป หรือไม่ได้ไปเทศน์ไปสอนใคร ถ้าเห็นว่าที่ไหนมันเงียบ มันสงัดดี เหมาะในการที่จะไปบำเพ็ญภาวนา ทำสมาธิ(Meditation)ของท่าน ท่านก็จะไป ซึ่งแน่นอน ส่วนมากก็จะอยู่ในเขตที่เป็นป่าเป็นเขา ไกลๆออกไปจากตัวเมือง หรือว่าต้องผ่านไปในชนบทนั่นเอง

     จากการที่ท่านต้องไปอย่างนี้ เนื่องจากในฤดูฝนที่เขาทำไร่ทำนากันอยู่นั้น บางครั้ง ข้าวกล้าของเขาก็เพิ่งหว่านลงไปในนา มันเพิ่งงอกออกมาใหม่ๆ บางทีก็ดูเหมือนหญ้า พระภิกษุก็เดินผ่านไป นึกว่ามันเป็นดงหญ้า ก็เลยย่ำข้าวกล้าของเขาไป ซึ่งก็ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน เขาก็มาฟ้องพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าพระไปย่ำข้าวของเขาที่ปลูกเอาไว้ หว่านเอาไว้ นกกาฤดูฝนมันยังอยู่กับรังของมัน พระทำไมไม่รู้จักพักบ้าง

    

วันเข้าพรรษาคือตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน 8 จนถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 11
      เพื่อตัดปัญหานี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เลยทรงกำหนดให้พระภิกษุ เมื่อเข้าพรรษา หรือเมื่อเข้าฤดูฝน ให้พระอยู่กับที่ คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน จนกระทั่งขึ้น 15ค่ำเดือน11 ให้อยู่เป็นที่เป็นทาง ไม่ไปทำภาวนาที่ไหน ไม่ไปเทศน์โปรดใคร ถ้าใครต้องการให้โปรด ก็มาที่วัดก็แล้วกัน มาหาท่าน ไม่ใช่ท่านไปหาเขา กำหนดเป็นอย่างนี้ไป เพื่อตัดปัญหาไม่ให้ใครมาบ่นลูกของพระองค์ได้

      แต่อีกมุมมองหนึ่ง พระองค์ทรงถือโอกาสที่เกิดเป็นปัญหานี้ ได้ทรงเปลี่ยนคำครหาให้กลายเป็นโอกาสดีของพระภิกษุว่า ถ้าอย่างนั้นพระภิกษุอยู่เป็นที่ในวัดวาอาราม เพื่อที่จะให้พระใหม่ได้รับการอบรมจากพระเก่าได้เต็มที่ เพราะว่าจริงๆแล้ว ในการอบรมถ่ายทอดศีลธรรม ถ่ายทอดธรรมวินัยให้แก่กันและกันนั้น ถ้าทำอย่างต่อเนื่อง ทำเป็นที่เป็นทางต่อเนื่องกันทุกวันทุกวัน อย่างนี้จะเป็นการดี การศึกษาธรรมะอย่างต่อเนื่องมีผลดี



พระภิกษุต้องอยู่วัดช่วงเข้าพรรษา
     เพราะฉะนั้น พระองค์ก็เลยทรงกำหนดขึ้นมาว่า ให้พระภิกษุอยู่กับที่ในช่วงเข้าพรรษาอยู่ในวัด แล้วพระใหม่ก็ศึกษาหรือรับการถ่ายทอดธรรมะจากพระเก่า ส่วนพระเก่าก็ทำหน้าที่เป็นครูบาอาจารย์ด้วย คือ สอนพระใหม่

     เท่านั้นยังไม่พอ พระเก่าก็วางแผน กำหนดแผนการเลยว่าเมื่อออกพรรษาแล้ว ควรจะเดินทางไปโปรดที่ไหน นั่นก็อย่างหนึ่ง อีกทั้งปรับปรุงหลักสูตรวิธีการเทศน์การสอน การอบรมให้เหมาะกับท้องถิ่น ให้เหมาะกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป เป็นต้น


ช่วงเข้าพรรษาพระใหม่ก็ศึกษาธรรมะจากพระเก่า
พระเก่าก็ทำหน้าที่เป็นครูบาอาจารย์สอนพระใหม่

ดังนี้ การเข้าพรรษาจึงเป็นการดีทั้งประชาชน ดีทั้งพระเก่า พระใหม่ ไปในตัวเสร็จ 

 กิจวัตรของพระภิกษุในฤดูเข้าพรรษา  
     ทีนี้กิจวัตรของพระภิกษุในฤดูเข้าพรรษา ว่าที่จริงก็ทำนองเดียวกันกับออกพรรษา เพียงแต่ว่าเมื่อไม่ได้ออกไปนอกพื้นที่ พระภิกษุจึงมีโอกาสดังต่อไปนี้

     ตัวท่านเองนั้น ก็มีโอกาสที่จะทำภาวนาของท่าน มีโอกาสที่จะปรับปรุงหลักสูตรของท่าน มีโอกาสที่จะค้นคว้าพระไตรปิฎกให้ยิ่งๆ ขึ้นไป อันนี้ก็เป็นเรื่องราวในปัจจุบันนี้ กิจวัตรในปัจจุบันของพระ เราก็ทำอย่างนี้




การปฏิบัติตัวของชาวพุทธในช่วงเข้าพรรษา 
       ในช่วงเข้าพรรษา พระเก่าพระใหม่ ท่านอยู่กันพร้อมหน้า เมื่ออยู่พร้อมหน้ากันอย่างนี้ ก็เป็นโชคดีของญาติโยม โชคดีอย่างไร โชคดีที่เนื้อนาบุญอยู่กันพร้อมหน้า ญาติโยมตั้งแต่ครั้งปู่ย่าตาทวด ท่านไม่ปล่อยให้พระเข้าพรรษาเพียงลำพัง ญาติโยมก็พลอยเข้าพรรษาไปด้วยเหมือนกัน แต่ว่าเข้าพรรษาของญาติโยมนั้น เข้าพรรษาด้วยการอธิษฐานจิต

หลักธรรมในพระพุทธศาสนา มีแม่บทไว้ชัดอยู่ 3 ข้อ คือ
 1.ละ ชั่ว
2.ทำดี
3.กลั่นใจให้ใส

      เมื่อพระอยู่จำพรรษา ท่านก็มีหน้าที่ของท่านว่า ละชั่ว คำ ว่า ละชั่วของพระนั้น ไม่ใช่ ชั่ว หยาบๆอย่าง ที่มนุษย์เป็นกัน แต่ว่าละชั่วของท่านในที่นี้หมายถึงละกิเลส ซึ่งแม้ในเรื่องนั้นโดยทางโลกแล้ว มองไม่ออกหรอกว่ามันเป็นความชั่ว ความไม่ดี เช่น มีจิตใจฟุ้งซ่าน ความจริงก็อยู่ในใจของท่าน คนอื่นมองไม่เห็น ถึงขนาดนั้น ท่านก็พยายามจะละความฟุ้งซ่านของท่านให้ได้ ด้วยการเจริญภาวนา หรือทำสมาธิให้ยิ่งๆขึ้นไป เป็นต้น ท่านก็ละกิเลสหรือละชั่วที่ละเอียดๆ ยิ่งๆ ขึ้นไป ให้สมกับภูมิแห่งความเป็นพระของท่าน


 ช่วงเข้าพรรษาพระใหม่ก็ตั้งใจศึกษาหาความรู้ให้เพิ่มพูนยิ่งๆ ขึ้นไป

     ความดีท่านก็ทำให้ยิ่งๆ ขึ้น ตัวอย่างเช่น อยู่ที่วัดพระเก่าก็เทศน์อบรมให้พระใหม่ พระใหม่ก็ตั้งใจศึกษาให้เป็นความรู้ความดี เพิ่มพูนความดีให้กับตัวของท่านไป แล้วก็ทำใจให้ใส พร้อมๆ กัน ด้วยการสวดมนต์ภาวนา แต่เช้ามืด ท่านตื่นกันขึ้นมาตั้งแต่ตีสี่ ตื่นขึ้นมาสวดมนต์กันแต่เช้า เป็นต้น

     สำหรับญาติโยมทั้งหลาย แต่โบราณ พอวันเข้าพรรษาก็อธิษฐานพรรษากันเหมือนกัน อธิษฐานอย่างไร อธิษฐานอย่างนี้ พรรษานี้ สามเดือนนี้ ที่รู้ว่าอะไรเป็นนิสัยที่ไม่ดีในตัวเองที่มีอยู่ ก็อธิษฐานเลย พรรษนี้ (เลือกมาอย่างน้อยหนึ่งข้อ) เราจะแก้ไขตัวเองให้ได้ เช่น บางคนเคยกินเหล้า เข้าพรรษาแล้วก็อธิษฐานว่า พรรษนี้เลิกเหล้า เลิกเหล้าให้เด็ดขาด บางคนเคยสูบบุหรี่ ก็อธิษฐานว่า อย่างน้อยพรรษานี้จะเลิกบุหรี่ให้เด็ดขาด เป็นต้น เขาก็มีการอธิษฐานกันในวันเข้าพรรษา พรรษานี้จะละความไม่ดีอะไรบ้าง ทั้งหยาบ ทั้งละเอียด ให้พยายามละกัน คือ ทำตามพระให้เต็มที่นั่นเองในระดับของประชาชน

    สิ่งใดที่เป็นความดี ก็พยายามที่จะทำให้ยิ่งๆขึ้นไป เช่น เมื่อก่อนนี้ ก่อนจะเข้าพรรษา ตักบาตรบ้าง ไม่ตักบาตรบ้าง วันไหนมีโอกาสก็ทำ วันไหนชักจะขี้เกียจก็ไม่ทำ เมื่อพรรษานี้ พระอยู่พร้อมหน้าพร้อมตาดีแล้ว ตั้งใจเลยที่จะตักบาตรให้ได้ทุกเช้า เมื่อก่อนไม่ทุกเช้า แค่วันเสาร์ วันอาทิตย์หรือวันโกนวันพระ พรรษานี้พระอยู่พร้อมหน้า อธิษฐานเลย จะตักบาตรทุกเช้าตลอดสามเดือนนี้ที่เข้าพรรษา นี่ก็เป็นธรรมเนียมที่ปู่ย่าตาทวดทำกัน



รักษาศีลในช่วงเข้าพรรษาจากศีลห้าก็ยกขึ้นไปเป็นศีลแปด

    บางท่านยิ่งกว่านั้น ธรรมดาเคยถือศีลห้าเป็นปกติอยู่แล้ว พรรษานี้เลยถือศีลแปดทุกวันพระไปเลย แถมจากศีลห้ายกขึ้นไปเป็นศีลแปด บางท่านเคยถือศีลแปดทุกวันพระ ถืออุโบสถศีลมาทุกวันพระแล้ว เมื่อพรรษาที่แล้ว พรรษานี้ถือศีลแปด ถืออุโบสถศีล ทั้งวันโกนวันพระ เพิ่มเป็นสัปดาห์ละสองวัน บางท่านเก่งกว่านั้นขึ้นไปอีก พรรษานี้จะรักษาศีลแปด รักษาอุโบสถศีล กันตลอดสามเดือนเลย

      ใครมีกุศลจิตศรัทธามากเพียงไหน ก็ทำให้ยิ่งๆขึ้นไปตามนั้น บางท่านยิ่งกว่านั้นขึ้นไปอีก ถึงกับอธิษฐานว่า พรรษานี้นอกจากถือศีลกันตลอด ถือศีลแปดกันตลอดพรรษาแล้วยังไม่พอ อธิษฐานที่จะทำสมาธิทุกวัน ทุกคืนก่อนนอนวันละหนึ่งชั่วโมง ใครที่ไม่เคยทำก็อธิษฐานจะทำสมาธิวันละหนึ่งชั่วโมง คืนละหนึ่งชั่วโมง บางท่านเพิ่มเป็นคืนละสองชั่วโมง สามชั่วโมง ก็ว่ากันไปตามกุศลศรัทธาอย่างนี้ นี่ก็เป็นสิ่งที่ปู่ย่าตาทวดของเราทำกันมา

     อีกอย่างหนึ่งที่อยากจะฝากก็คือ เนื่องจากปัจจุบันนี้สังคมเปลี่ยนไป ญาติโยมประชาชนส่วนมากหยุดงานกันวันเสาร์ วันอาทิตย์ แต่พระนั้น แต่เดิมก็เทศน์กันวันโกนวันพระเป็นหลัก เมื่อเป็นอย่างนี้ จึงเหลือเพียงคนเฒ่าคนแก่เท่านั้น ที่ไปฟังเทศน์ในวันโกนวันพระ  

     แต่เข้าพรรษานี้ ขอฝากหลวงพ่อ หลวงพี่ ด้วยก็แล้วกัน ถ้าจะเพิ่มวันเทศน์วันสอนธรรมะให้กับประชาชนในวันเสาร์-วันอาทิตย์ ซึ่งญาติโยมเขาหยุดงานกันอีกสักวันสองวันก็จะเป็นการดี แล้วก็ญาติโยมด้วยนะ รู้ว่าพระเทศน์วันโกนวันพระ แล้วครั้งนี้เข้าพรรษา ท่านแถมวันเสาร์-วันอาทิตย์ให้ด้วย อย่าลืมไปฟังท่านเทศน์ด้วยนะ ถ้าขยันกันอย่างนี้ มีแต่บุญกุศลกันตลอดทั้งพรรษาเลย แล้วความเจริญรุ่งเรืองทั้งตัวเอง ทั้งพระพุทธศาสนา ประเทศชาติบ้านเมืองของเรา ก็จะบังเกิดขึ้นตลอดปี ตลอดไป


บวชเข้าพรรษาหน้าที่อันยิ่งใหญ่ของลูกผู้ชาย


ประเพณีการบวชช่วงเข้าพรรษา 

     ความจริงแล้ว พระในพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะบวชในฤดูกาลไหน หรือจะบวชช่วงสั้น ช่วงยาวแค่ไหนก็ตาม มีวัตถุประสงค์ในการบวชเหมือนกัน คือ มุ่งที่จะกำจัดทุกข์ให้หมดไป แล้วก็ทำพระนิพพานให้แจ้ง หรือ พูดกันภาษาชาวบ้านว่า มุ่งกำจัดกิเลสเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน จะได้ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดกันอีก

     ทีนี้อย่างไรก็ตาม เมื่อบวชแล้ว ไม่ว่าบวชช่วงสั้นช่วงยาว ตั้งใจอย่างนี้ ทำตามวัตถุประสงค์ของการบวชอย่างนี้เต็มที่ ไม่ว่าบวชช่วงไหนก็ได้บุญเท่าๆ กันทั้งนั้น อันนี้โดยหลักการ

     แต่ว่าเอาจริงๆ เข้าแล้ว เนื่องจากเรานั้น ยังเป็นคนที่เข้ามาสู่ศาสนากันใหม่ๆ แล้วก็ยังต้องการสภาพที่เหมาะสมพิเศษๆ ในการที่จะศึกษาธรรมะ ในการที่จะขัดเกลาตัวเอง ตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น ถ้าได้บรรยากาศพิเศษๆขึ้นมา ก็จะช่วยให้การบรรลุวัตถุประสงค์ของการบวชนั้นง่ายขึ้นและดีขึ้น ปู่ย่าตาทวดของเราจึงได้เลือกแล้วว่า ฤดูเข้าพรรษาเป็นบรรยากาศพิเศษ เหมาะที่จะให้ลูกหลานของตัวเองจะเข้ามาบวช พิเศษอย่างไรในฤดูนี้

    ประการที่ 1. ดินฟ้าอากาศเป็นใจ คือ ในฤดูร้อนของประเทศไทย เรารู้ๆ กันอยู่ว่า ถึงคราวร้อนก็ร้อนเหลือหลาย ร้อนจนกระทั่งแม้ในทางโลก เด็กนักเรียนก็ปิดเทอมกันภาคฤดูร้อน ฤดูร้อนเรียนกันไม่ค่อยจะรู้เรื่อง อากาศมันร้อนหนัก เพราะฉะนั้นโรงเรียนก็ปิดเรียน ในทางธรรมก็เช่นกัน ถ้าจะให้พระใหม่มาเรียนธรรมะในฤดูร้อนคงย่ำแย่

      ในฤดูหนาวก็เช่นกัน สมัยเราเป็นเด็ก ไปโรงเรียนกันในฤดูหนาว เป็นเด็กนักเรียนก็ไปนั่งผิงไฟกันด้วยซ้ำ ไปนั่งงอก่องอขิงกัน บรรยากาศในการเรียนมันหย่อนๆ ไปเหมือนกัน ร้อนไปก็ไม่ดี หนาวไปก็ไม่ดี ฤดูที่ไม่หนาวไม่ร้อนจนเกินไป เห็นมีอยู่ฤดูเดียวสำหรับประเทศไทย คือ ฤดูฝน หรือฤดูเข้าพรรษานั่นเอง เพราะฉะนั้นช่วงเข้าพรรษา ดินฟ้าอากาศมันพร้อม มันดีพร้อม มันเป็นใจ เหมาะแก่การศึกษาธรรมะ การค้นคว้าธรรมะ ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป

ประการที่ 2. ครูก็พร้อม เพราะว่าพระภิกษุที่เป็นครูบาอาจารย์ ท่านถูกพระวินัยกำหนดแล้วว่า ห้ามไปไหน ต้องพักค้างอยู่ในวัดตลอดพรรษา ดังนั้น ครูบาอาจารย์จึงพร้อมหน้าพร้อมตามากที่สุดในฤดูเข้าพรรษานี้ เพราะฉะนั้นถ้าใครมาเป็นลูกศิษย์ ก็จะได้พบหน้าพระที่เป็นครูบาอาจารย์ทุกองค์เลย โอกาสจะได้รับการถ่ายทอดธรรมะจึงเต็มที่มากกว่าฤดูอื่น

     ประการที่ 3. เราถือเป็นค่านิยมกันแล้วว่า พระใหม่ควรจะบวชในฤดูเข้าพรรษา เพราะฉะนั้น ต้องถือว่าฤดูนี้ ดินฟ้าอากาศเป็นใจ ครูบาอาจารย์ คือ พระเก่าก็พร้อม ลูกศิษย์ คือ พระใหม่ก็พร้อมหน้าพร้อมตากันมาบวชในฤดูนี้ เมื่อเป็นอย่างนี้ความคึกคักในการเรียนมันก็มี

     ยิ่งไปกว่านั้น ความพร้อมประการที่ 4. ในส่วนของญาติโยม เมื่อลูกหลานมาบวช ญาติโยมก็เกิดความคึกคักเหมือนกันที่จะมาฟังเทศน์ด้วย เพราะว่ามาด้วยความห่วงพระลูกพระหลานของตัวเอง อีกทั้งยังนำข้าวปลาอาหารมาทำบุญ มาเลี้ยงพระลูกพระหลาน แล้วก็เลยเลี้ยงกันไปทั้งวัดอีกด้วย

      ยังไม่พอมาเลี้ยงพระลูกพระหลานเสร็จแล้ว ถึงอย่างไรก็ต้องไปกราบพระที่เป็นครูบาอาจารย์ เมื่อเป็นอย่างนี้ความคุ้นเคยระหว่างพระกับโยมในช่วงเข้าพรรษาก็มีมากขึ้น ญาติโยมจึงมีโอกาสจะได้ฟังเทศน์ฟังธรรมพร้อมๆกันไปด้วย พระลูกพระหลานก็เข้าห้องเรียนไปห้องหนึ่ง โยมพ่อโยมแม่ก็เข้าฟังเทศน์ในศาลาอีกศาลาหนึ่ง รวมทั้งข้าวปลาอาหารก็มีพร้อมมูลอย่างนี้ บรรยากาศแห่งความสมบูรณ์ในการประพฤติปฏิบัติธรรมมาพร้อมกันถึง 4 ประการอย่างนี้ ฤดูเข้าพรรษาจึงนับว่าเป็นฤดูที่เหมาะสมต่อการเข้ามาบวชอย่างยิ่ง

     จึงเป็นธรรมเนียมกันมาทุกวันนี้ว่า บวชตอนเข้าพรรษานั้นน่าบวชที่สุด เพราะว่ามีโอกาสได้บุญมากที่สุด ทั้งพระผู้บวช คือ ได้ศึกษาเต็มที่ มีโอกาสที่จะโปรดโยมพ่อโยมแม่มากที่สุด เพราะถึงแม้ตัวเองเป็นพระใหม่ยังเทศน์ไม่ได้ แต่พระอาจารย์ในวัดก็ช่วยเทศน์ให้ ทุกอย่างมันสมบูรณ์พูนสุขจริงๆ บวชเข้าพรรษาจึงมีทีท่าว่าได้บุญมากกว่าฤดูอื่น ด้วยประการฉะนี้


ประวัติวันเข้าพรรษา